Post by admin on Mar 4, 2013 14:47:06 GMT 7
ข้อเท้าพลิก
ข้อเท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะมือสมัครเล่น เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าจะได้รับบาดเจ็บง่าย หรือในกรณีข้อเท้าพลิกที่เกิดจากการเดินในที่พื้นผิวขรุขระ
ข้อเท้าของคนเรา นอกจากมีกระดูกมาประกอบกันเป็นข้อต่อแล้ว ยังมีเยื่อหุ้มข้อโดยรอบ ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักมาก ในเวลาเดิน ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนัก 1.5 เท่าของน้ำหนักตัว ถ้าคิดคำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว คนเราใช้เท้าเดินประมาณปีละ 1,000 ไมล์ และเมื่อออกกำลังกาย ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนักประมาณ 1,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง
สาเหตุ
จากการกระทบกระแทก บิด หมุน ของข้อเท้า เช่น เดินตกหลุม หกล้ม อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา
ความเสียหายที่เกิด
แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. Contusion ฟกช้ำดำเขียว ทำให้เกิดอาการปวด บวมเล็กน้อย มีเลือดตกคั่งในบริเวณที่บาดเจ็บ ยังคงสามารถเดิน ทำงานได้ตามปกติ
2. Sprain เส้นเอ็นฉีกขาด มีได้ตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงรุนแรง ตอนแรกๆมักจะไม่ปวด ไม่บวมมาก แต่เมื่อฝืนเดินต่อไป อาการจะรุนแรงมากขึ้น
3. Fracture กระดูกหัก มักเกิดกับการบิดของข้อเท้าอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ เล่นกีฬาบางชนิด ทำให้เกิดอาการปวด บวม อย่างรุนแรง ข้อบิดเบี้ยวออกจากที่เดิม รับน้ำหนักไม่ได้ ปวดแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดกับข้อเท้าในชีวิตประจำวัน คือ Sprain ในระดับต้น ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ จึงจะรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม
เกิดอะไรขึ้นภายใน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะเกิดการปลดปล่อยของสารเคมีมากมายออกจากเซลล์ที่เสียหายนั้น (ได้แก่ Histamine, Serotonin, Slow-Releasing Substance, Prostaglandin , อื่นๆอีกมากมาย) รวมทั้งการส่งกระแสประสาทที่บ่งบอกให้รู้ถึงความเจ็บปวด ซึ่งต้องถือว่าขบวนการต่างๆนี้มีประโยชน์ เพราะทำให้ร่างกายรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย จะได้มีปฏิกิริยาตอบสนองได้ทันท่วงที
สารเคมีที่ปล่อยออกมาเหล่านั้น จะทำให้
* ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นมีอาการรั่วขึ้น น้ำเลือด เม็ดเลือดขาว จะไหลผ่านออกมาได้ง่ายขึ้น เกิดการบวม แดง
* เม็ดเลือดขาว แอนตี้บอดี้ จะมารุมกันบริเวณนั้น ก่อให้เกิดขบวนการอักเสบ ( Inflammation ) เกิดอาการร้อน
สรุปคือ จะเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณนั้น เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อแล้วจึงซ่อมแซมขึ้นภายหลัง
และจะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเลย แต่อาการแสดงออกเหมือนกับจะเป็นฝี ดังนั้น การทานยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ประโยชน์ในแง่นี้เลย ที่ถูกจะต้องใช้ยาบรรเทาการอักเสบ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลักการมี 4 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นตัวย่อว่า R I C E ( ไม่ได้แปลว่า ข้าวนะครับ !) ซึ่งวัตถุประสงค์คือ ต้องการลดปริมาณเลือดที่จะมาเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บ
R = Rest พักเฉยๆ หยุดการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำอีก แล้วยังลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่บาดเจ็บด้วย
I = Ice ใช้ถุงน้ำแข็ง หรือน้ำเย็นประคบ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะความเย็นทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ลดการบวม การห้อเลือด การฟกช้ำ
C = Compression ใช้ผ้ายืดพันเคล็ด หรือจะใช้ผ้ายืดสำเร็จรูปก็ได้ เพื่อเป็นกาสรพยุงให้ข้อเท้าอยู่เฉยๆ หรือ ถืงแม้จะเคลื่อนไหว ก็ช่วยผ่อนแรงได้
E = Elevation การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงไว้ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด เพิ่มการไหลของเลือดออกจากบริเวณที่บาดเจ็บได้เร็วยิ่งขึ้น
หลังจากผ่านไป 2-3 วัน แล้วจึงจะเปลี่ยนการดูแลใหม่ โดยใช้น้ำอุ่นประคบ เดินช้าๆ แต่ยังคงพันด้วยผ้ายืดเพื่อเป็นการพยุงข้อ ให้ทำงานน้อยลง ในขณะเดียวกัน การเดินช้าๆ ประคบน้ำอุ่นจะเป็นการฟื้นฟู ให้เลือดไหลเวียนมาซ่อมแซม และเป็นการยึดข้อ ป้องกันการยึดติดของข้อ
ผลเสียถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
ในกรณีที่ท่านปฐมพยาบาลผิดขึ้นตอน เช่น การบีบนวด หรือ การประคบด้วยน้ำอุ่นตั้งแต่แรก จะเป็นการซ้ำเติมความเสียหาย บาดเจ็บให้รุนแรงขึ้น
การที่ไม่พันผ้ายืดเวลาเคลื่อนไหว ทำให้ข้อที่บาดเจ็บอยู่ต้องทำงานหนัก การสมานของเส้นเอ็นไม่ดี เกิดอาการที่เรียกว่า ข้อหลวม เป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้อพลิก แพลงได้ง่ายๆต่อไป และเกิดอาการอักเสบเรื้อรังต่อไป
ข้อเท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะมือสมัครเล่น เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าจะได้รับบาดเจ็บง่าย หรือในกรณีข้อเท้าพลิกที่เกิดจากการเดินในที่พื้นผิวขรุขระ
ข้อเท้าของคนเรา นอกจากมีกระดูกมาประกอบกันเป็นข้อต่อแล้ว ยังมีเยื่อหุ้มข้อโดยรอบ ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักมาก ในเวลาเดิน ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนัก 1.5 เท่าของน้ำหนักตัว ถ้าคิดคำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว คนเราใช้เท้าเดินประมาณปีละ 1,000 ไมล์ และเมื่อออกกำลังกาย ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนักประมาณ 1,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง
สาเหตุ
จากการกระทบกระแทก บิด หมุน ของข้อเท้า เช่น เดินตกหลุม หกล้ม อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา
ความเสียหายที่เกิด
แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. Contusion ฟกช้ำดำเขียว ทำให้เกิดอาการปวด บวมเล็กน้อย มีเลือดตกคั่งในบริเวณที่บาดเจ็บ ยังคงสามารถเดิน ทำงานได้ตามปกติ
2. Sprain เส้นเอ็นฉีกขาด มีได้ตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงรุนแรง ตอนแรกๆมักจะไม่ปวด ไม่บวมมาก แต่เมื่อฝืนเดินต่อไป อาการจะรุนแรงมากขึ้น
3. Fracture กระดูกหัก มักเกิดกับการบิดของข้อเท้าอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ เล่นกีฬาบางชนิด ทำให้เกิดอาการปวด บวม อย่างรุนแรง ข้อบิดเบี้ยวออกจากที่เดิม รับน้ำหนักไม่ได้ ปวดแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดกับข้อเท้าในชีวิตประจำวัน คือ Sprain ในระดับต้น ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ จึงจะรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม
เกิดอะไรขึ้นภายใน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะเกิดการปลดปล่อยของสารเคมีมากมายออกจากเซลล์ที่เสียหายนั้น (ได้แก่ Histamine, Serotonin, Slow-Releasing Substance, Prostaglandin , อื่นๆอีกมากมาย) รวมทั้งการส่งกระแสประสาทที่บ่งบอกให้รู้ถึงความเจ็บปวด ซึ่งต้องถือว่าขบวนการต่างๆนี้มีประโยชน์ เพราะทำให้ร่างกายรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย จะได้มีปฏิกิริยาตอบสนองได้ทันท่วงที
สารเคมีที่ปล่อยออกมาเหล่านั้น จะทำให้
* ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นมีอาการรั่วขึ้น น้ำเลือด เม็ดเลือดขาว จะไหลผ่านออกมาได้ง่ายขึ้น เกิดการบวม แดง
* เม็ดเลือดขาว แอนตี้บอดี้ จะมารุมกันบริเวณนั้น ก่อให้เกิดขบวนการอักเสบ ( Inflammation ) เกิดอาการร้อน
สรุปคือ จะเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณนั้น เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อแล้วจึงซ่อมแซมขึ้นภายหลัง
และจะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเลย แต่อาการแสดงออกเหมือนกับจะเป็นฝี ดังนั้น การทานยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ประโยชน์ในแง่นี้เลย ที่ถูกจะต้องใช้ยาบรรเทาการอักเสบ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลักการมี 4 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นตัวย่อว่า R I C E ( ไม่ได้แปลว่า ข้าวนะครับ !) ซึ่งวัตถุประสงค์คือ ต้องการลดปริมาณเลือดที่จะมาเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บ
R = Rest พักเฉยๆ หยุดการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำอีก แล้วยังลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่บาดเจ็บด้วย
I = Ice ใช้ถุงน้ำแข็ง หรือน้ำเย็นประคบ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะความเย็นทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ลดการบวม การห้อเลือด การฟกช้ำ
C = Compression ใช้ผ้ายืดพันเคล็ด หรือจะใช้ผ้ายืดสำเร็จรูปก็ได้ เพื่อเป็นกาสรพยุงให้ข้อเท้าอยู่เฉยๆ หรือ ถืงแม้จะเคลื่อนไหว ก็ช่วยผ่อนแรงได้
E = Elevation การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงไว้ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด เพิ่มการไหลของเลือดออกจากบริเวณที่บาดเจ็บได้เร็วยิ่งขึ้น
หลังจากผ่านไป 2-3 วัน แล้วจึงจะเปลี่ยนการดูแลใหม่ โดยใช้น้ำอุ่นประคบ เดินช้าๆ แต่ยังคงพันด้วยผ้ายืดเพื่อเป็นการพยุงข้อ ให้ทำงานน้อยลง ในขณะเดียวกัน การเดินช้าๆ ประคบน้ำอุ่นจะเป็นการฟื้นฟู ให้เลือดไหลเวียนมาซ่อมแซม และเป็นการยึดข้อ ป้องกันการยึดติดของข้อ
ผลเสียถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
ในกรณีที่ท่านปฐมพยาบาลผิดขึ้นตอน เช่น การบีบนวด หรือ การประคบด้วยน้ำอุ่นตั้งแต่แรก จะเป็นการซ้ำเติมความเสียหาย บาดเจ็บให้รุนแรงขึ้น
การที่ไม่พันผ้ายืดเวลาเคลื่อนไหว ทำให้ข้อที่บาดเจ็บอยู่ต้องทำงานหนัก การสมานของเส้นเอ็นไม่ดี เกิดอาการที่เรียกว่า ข้อหลวม เป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้อพลิก แพลงได้ง่ายๆต่อไป และเกิดอาการอักเสบเรื้อรังต่อไป